วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

" ยุบพรรคการเมือง " มุมมองจาตุรนต์ ฉายแสง

 

นายจาตุรนต์  ฉายแสง ประธานสถาบันพัฒนาการศึกษาประชาธิปไตย  แสดงความคิดเห็น ต่อกรณีการยุบพรรคไทยรักไทย ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งเมื่อ 4 ปีก่อน ผ่านทางทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ึก ดังนี้

 

“  วันนี้ เมื่อ 4 ปีก่อน 30 พฤษภาคม 2550 เป็นวันที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบและกรรมการบริหารพรรคทั้ง 111 คนถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี

 

การยุบพรรคไทยรักไทยเป็นผลจากการตัดสินของคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญที่คมช.ได้ตังขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว หลังจากที่พวกเขาได้ยุบศาลรัฐธรรมนูญไป

 

การยุบ ไทยรักไทย จึงมิได้เกิดขึ้น  โดยกระบวนการยุติธรรมปรกติ หากแต่ได้เกิดจากการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของคณะรัฐประหารที่ได้ประกาศเจตนาไว้อย่างชัดแจ้งในแผนบันได 4 ขั้นของพวกเขาว่าจะต้องยุบพรรคไทยรักไทยให้ได้

 

ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คนนั้น ในขณะที่เกิดกรณีที่มีการกล่าวหา ไม่มีกฎหมายกำหนดให้เพิกกถอนสิทธิ์

 

แต่การเพิกถอนสิทธิ์เป็นไปตามคำสั่งของคณะรัฐประหารที่ไม่ได้มาจากการบัญญัติกฎหมายโดยประชาชน มีที่มาที่ไม่ชอบธรรมและยังเป็ฯการใช้กฎหมายย้อนหลัง

 

 

การยุบพรรคไทยรักไทยและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคทั้งคณะ 111 คนจึงมีปัญหาเชิงหลักการที่สำคัญอย่างยิ่งหลายประการคือ

 

1. การตัดสินเกิดจากการใช้อำนาจของคณะรัฐประหารแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมคือการสั่งยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญแล้วตั้งคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาทำหน้าที่แทน และบรรดาคนในฝ่ายตุลาการก็สมยอมด้วย  

 

2. การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งซึ่งเป็นการสิดรอนสิทธิเสรีภาพทางการเมืองที่สำคัญยิ่งในอารยะประเเทศและประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้นเป็นผลจากคำสั่งของคณะรัฐประหารซึ่งเป็นคำสั่งที่มีมี่มาที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากไม่ได้มาจากการบัญญัติของประชาชน ขัดต่อหลักนิติธรรม

 

3. เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังไปลงโทษคน ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายทั่วไปและขัดต่อหลักนิติธรรม

 

4.  การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคทั้ง 111 คน เป็นการลงโทษคณะบุคคลทั้งคณะ(collective punishment) จากการกระทำของผู้อื่น ทั้งๆที่บุคคลเกือบทั้งหมดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำผิดด้วยเลย คล้ายกับการประหารชีวิต 7 ชั่วโคตรในสมัยโบราณ

 

แทนที่เราจะแก้ไขสิ่งที่ผิดหลักการอย่างร้ายแรงนี้ให้ถูกต้อง เรากลับพลาดโอกาสที่จะทำให้ถูกต้องไปเสียถึง 2 ครั้งคือตอนร่างรธน.และตอนแก้รธน.

 

ตอนร่างรัฐธรรมนูญ พวกที่ร่างรัฐธรรมนูญได้นำเอาสิ่งที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมนี้บัญญัติเข้าไปในรัฐธรรมนูญเสียเลย

 

ทำให้การยุบพรรคการเมืองอื่นๆในเวลาต่อมาเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ  และไม่ใช่การใช้กฎหมายย้อนหลังเหมือนกรณีไทยรักไทยที่เหมือนกัน คือยังขัดต่อหลักนิติธรรม

 

ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดก็ไม่มีการแก้เรื่องนี้ยังปล่อยให้คงเป็นปัญหาอยู่ต่อไป

 

ผลจากการวางระบบเกี่ยวกับการยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิ์นักการเมืองอย่างที่ทำกันมาได้ทำลายพรรคการเมืองและระบบพรรคการเมืองอย่างยับเยิน

 

พรรคการเมืองถูกยุบง่ายเป็นว่าเล่น สมาชิกหลายล้านคนสูญเสียเครื่องมือของตนไป พรรคการเมืองอ่อนแอลง ไม่มีใครกล้าเป็นกรรมการบริหารเว้นแต่พรรคที่มีภูมิคุ้มกันพิเศษ

 

พรรคการเมืองที่ตั้งใหม่มีสมาชิกไม่กี่หมื่นคนเพราะถูกระเบียบกกต.สกัดกั้น ทำให้เกิดการเสียเปรียบพรรคที่มีอยู่ก่อนและไม่ถูกยุบ

 

เกิดสภาพที่ผู้มีอำนาจตัวจริงในพรรคการเมืองและในรัฐบาลเป็นผู้ที่ไม่ต้องถูกตรวจสอบโดยระบบ ในขณะที่ผู้ที่ถูกตรวจสอบได้กลับไม่มีอำนาจจริง

 

ทำให้ระบบตรวจสอบนักการเมืองอ่อนแอลงเป็นผลให้เกิดการคอรัปชั่นมากขึ้น

 

 

นอกจากนี้ผู้มีอำนาจยังได้วางระบบอย่างจงใจให้พรรคการเมืองและระบบพรรคการเมืองอ่อนแอด้วยวิธีการต่างๆจนเกิดการขัดมติได้ง่าย แตกเป็นพรรคเล็กๆ เกิดการรวบรวมสส.เพื่อต่อรองเอาตำแหน่งรัฐมนตรีโดยตั้งเป็นพรคคเฉพาะกิจ สวนทางกันการเรียนรู้ของประชาชนที่ให้ความสำคัญกับนโยบายพรรคมากขึ้น

 

การเลือกตั้งจึงเป็นโอกาสที่ประชาชนจะยืนยันให้ความสำคัญกับระบบพรรคการเมืองและนโยบายของพรรคการเมือง และการเลือกตั้งยังเป็นโอกาสที่จะนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องการยุบพรคคและการเพิกถอนสิทธิ์นักการเมืองที่ขัดต่อหลักนิติธรรมดังกล่าวแล้ว

 

สำหรับนัการเมือง 111 คนที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์นั้น แม้จะเป็นผู้ที่ไม่ได้รับควาายุติธรรม แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่าไม่ควรเสนอขอให้มีการคืนสิทธิ์แล้วเพราะอาจจะไปเป็นอุปสรรคต่อการจะผลักดันให้มีการแก้ไขเรื่องอื่นซึ่งใหญ่กว่าเช่นการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นต้น"