วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

"วิกฤติน้ำ" VS " วิกฤติคน"

"วิกฤติน้ำ" VS " วิกฤติคน"

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 26 ต.ค. 54

 

ในวิกฤติน้ำ - วิกฤติคน ระหว่าง "มวลน้ำ" กับ "มวลชน"   รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วม  ในระยะยาว และความจำเป็นของการปรับตัว 3 ระดับ คือ ระดับครัวเรือน  ระดับชุมชน และระดับประเทศเพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดจากความแปรปรวนของภูมิอากาศ

 

ดร.กัมปนาท หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับ "น้ำ"  30 กรม  13 กระทรวง มีความซับซ้อนเกินไป ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำกระจายอยู่ทุกกรม- กระทรวง  ทำให้เมื่อเกิดวิกฤติจึงมีปัญหาในการปฎิบัติงาน  ดร.กัมปนาท ประเมินว่า สถานการณ์ในขณะนี้ เป็นทั้ง "วิกฤติน้ำ" และ "วิกฤติคน" อยู่ในภาวะ "ทฤษฎีของความสับสนอลหม่าน"  

 

ดร.กัมปนาท เสนอแนะให้ ศปภ. ใช้ "ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ" สื่อสารกับประชาชนให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน แต่การทำงานที่ผ่านมาเป็นการทำงานในเชิงตั้งรับเมื่อภัยมาถึง   แต่ไม่ใช่การแก้ไขปัญหา  นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม เสนอให้จับตาดู งานวิจัยเชิงนโยบายของสภาวิจัยแห่งชาติ เรื่อง "การจัดการน้ำแบบองค์รวม" เป็นงานวิจัยเชิงนโยบายที่มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 1 ปี จะเสนอรูปแบบองค์กรบริหารจัดการน้ำต่อรัฐบาล  พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลนำศาสตร์ของกล้าตัดสินใจมาใช้   รัฐบาลชุดนี้จะแก้ปัญหา ปีต่อปี หรือตัดสินใจแก้ปัญหาระยะยาว เพราะมูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติ ขณะนี้สูงกว่ามูลค่าการลงทุนระบบเพื่อใช้ป้องกันความเสียหายจากภัยพิบัติแล้ว

 

Produced by VoiceTV