วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โออิชิ หลังน้ำลด ประเมินความเสียหายไม่ได้

โออิชิ หลังน้ำลด ประเมินความเสียหายไม่ได้

เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร   จัดกิจกรรมบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ เป็นวันแรก  และจะทำต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 16ธันวาคมนี้  โดยเน้นกู้ถนนสายหลักที่ใช้สัญจรในนวนครก่อน  

 

ผู้บริหารเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร เจ้าของโรงงาน และพนักงาน ร่วมกันทำความสะอาดครั้งใหญ่บนถนนสายหลัก เพื่อฟื้นฟูเดินทางในนวนครให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยทำความสะอาด ตั้งแต่ 9  นาฬิกาถึง16 นาฬิกา และจะทำแบบนี้ติดต่อกัน3วัน

 

ที่เขตส่งเสริมส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนครแห่งนี้   ถูกน้ำเข้าท่วมตั้งแต่วันที่17ตุลาคมที่ผ่านมา    เกือบ  3  เดือน  ที่ถูกน้ำท่วม ระดับน้ำมีตั้งแต่ 2 เมตร และลึกที่สุดถึง4เมตร สูงจนน้ำท่วมข้ามกำแพงของโรงงานต่างๆได้ไม่ยากเย็นนัก  นี่จึงเป็นเหตุผลให้วันที่17ธันวาคมนี้ผู้บริหารนวนคร  จะเร่งหารือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น หรือ ไจกา   และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย  เพื่อวางแผนก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำถาวรรอบพื้นที่นวนคร   โดยเบื้องต้นคาดว่าจะนำเขื่อนซีเมนต์สำเร็จรูปความสูง 6  เมตร  50  เซนติเมตร มาใช้งาน จะเริ่มดำเนินการในเดือนมกราคมปีหน้า และให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝนที่จะมาถึงในเดือนสิงหาคมปีหน้า

 

บริษัทบาร์บีคิวพลาซ่า เป็นโรงงานอีกหนึ่งแห่งที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้   ในช่วงแรกที่เกิดน้ำท่วม ทำให้ร้านบาบีคิวพลาซ่าและร้านจุ่มแซ่บฮัทในห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง ต้องปิดร้านไปชั่วคราว เนื่องจากไม่มีวัตถุดิบการผลิต

 

แต่วันนี้เราพบว่าโรงงานบาร์บีคิวพลาซ่าในนวนคร  มีการทำความสะอาดพื้นที่จนกลับสู่สภาวะปกติ ไม่มีเศษขยะ หรือรอยคราบน้ำที่กำแพงหลงเหลืออยู่เลย เพราะพนักงานเหล่านี้ ได้มาBig Cleaning Day โรงงานของพวกเขามาก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อให้โรงงากลับมาเปิดได้เร็วที่สุด

 

โรงงานโออิชิ เป็นอีกหนึ่งโรงงานที่ได้รับความเสียหาย  จนประเมินมูลค่าไม่ได้  โดยส่วนที่เสียหายหนักที่สุด  คือเครื่องจักรที่ใช้บรรจุขวด และเครื่องจักรบรรจุกล่องยูเอชที   ซึ่งเครื่องจักรทั้ง 2 ส่วน  เพิ่งนำเข้าจากต่างประเทศและเริ่มใช้งานเมื่อเดือนกันยายน หรือก่อนน้ำท่วมเพียง 1 เดือน 

 

แต่ผู้บริหารโออิชิก็เปิดเผยว่า ไม่หวั่นไหวต่อสถานการณ์หลังน้ำลด  เพราะสั่งเครื่องจักรตัวใหม่เข้ามาทดแทนแล้ว รวมถึงกำลังเจรจากับผู้ผลิตชาเขียวในประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ เพื่อจ้างผลิตและนำเข้ามาขายในไทย  ทดแทนการผลิตที่ขาดหายไปในช่วงนี้

 

แม้ด้านความเสียหายทั้งหมดของโออิชิ จะไม่สามารถประเมินได้ แต่ในด้านยอดขายหายไปกว่าพันล้านบาท ค่อนข้างมากพอสมควร เพราะที่นี่ผลิตเครื่องดื่มได้ 60 ล้านขวดต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 70   ของการผลิตทั้งหมด ทางผู้บริหารของโออิชิคาดว่า เครื่องจักรตัวใหม่มาได้เร็ว   คาดว่าโออิชิจะกลับมาเดินสายการผลิตได้  ในไตรมาสแรกของปี  2555   ประมาณ ร้อยละ 60 -70  ของกำลังการผลิตทั้งหมด และคาดว่าจะกลับมาผลิตได้เต็มที่ในเดือนมีนาคมปีหน้า

 

Produced by VoiceTV