รายงานดัชนีความเสี่ยงจากการก่อการร้ายระบุว่า การก่อการร้ายทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในขณะที่ประเทศไทย มีความเสี่ยงเป็นอันดับที่ 12 ของโลก ดัชนีความเสี่ยงจากการก่อการร้าย ประจำปี 2554 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยบริษัทเมเปิ้ลครอฟท์(Maplecroft) ของอังกฤษ ระบุว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงจากการก่อการร้ายมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลกและเป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยลดระดับความเสี่ยงลงจากปีที่แล้ว ซึ่งติดอันดับที่ 7 ของโลก โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะที่ประเทศที่มีความเสี่ยงจากการก่อการร้ายมากที่สุดในโลก 10 อันดับแรก ได้แก่ประเทศโซมาเลีย // ปากีสถาน // อิรัก // อัฟกานิสถาน // ซูดานใต้ // เยเมน// ปาเลสไตน์ // สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก // สาธารณรัฐแอฟริกากลาง //และโคลอมเบีย ส่วนผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายในประเทศ 4 อันดับแรก รวมกันได้ถึง 13,492 ราย คิดเป็นร้อยละ 75 จากผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายทั่วโลก ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ติดอันดับที่13 ของโลก และเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรนี้ ยังระบุอีกว่า จำนวนการก่อการร้ายในรอบปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 แต่จำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายทั่วโลกลดลง ทั้งนี้ ดัชนีความเสี่ยงจากการก่อการร้ายจัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านความเสี่ยงจากการก่อการร้ายใน 197 ประเทศเพื่อให้นักลงใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ โดยประมวลผลจากข้อมูลด้านความรุนแรงและความถี่ของการก่อการร้ายในแต่ประเทศนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554 // ข้อมูลการก่อการร้ายในรอบ 5 ปี //และความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศกับพื้นที่ที่มีกลุ่มก่อการร้าย สำหรับสถาบันเมเปิ้ลครอฟท์ (Maplecroft) เป็นบริษัทให้บริการข้อมูลความเสี่ยงด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง คอร์รัปชันและสิ่งแวดล้อม ของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่โดยมีผู้นำข้อมูลจากสถาบันเมเปิ้ลครอฟท์ (Maplecroft) ไปใช้มากมายไม่ว่าจะเป็นบริษัทชั้นนำของโลก // รัฐบาล // หน่วยงานของสหประชาชาติและองค์กรเอกชน Produced by Voice TV |