วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระ และอดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ อธิบายประเด็นข้อกฎหมาย อันเนื่องมาจาก “คำสั่งมาตรการชั่วคราว” ของศาลโลก ที่ออกมาเมื่อวันที่ กรกฎาคม ความหมายของ “คำสั่งมาตรการชั่วคราว” เป็นเรื่องความจำเป็นเร่งด่วน และมีผลในเวลาจำกัด ต่างกับคำพิพากษาซึ่งมีผลผูกพันและสิ้นสุดในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย โดยฝ่ายไทย และกัมพูชา จะต้องฟังว่าศาลโลกจะรับตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505 ที่กัมพูชาร้องขอให้ตีความในปีหน้า วีรพัฒน์ อธิบาย คำสั่งมาตรการชั่วคราว 4 ข้อ และคำสั่งทั่วไป 3 ข้ออย่างละเอียด โดยเฉพาะประเด็น 1. สั่งให้ไทย และกัมพูชา ถอนทหารออกจาก “ เขตปลอดทหารชั่วคราว” มีการวิเคราะห์เหตุผลจากองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลก เหตุใดจึงต้องกำหนดพิกัดเส้นรุ้ง เส้นแวง เขตปลอดทหารชั่วคราวไว้อย่างชัดเจน พร้อมร่างแผนที่ให้ไทย และกัมพูชา นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ 2. สั่งให้ไทยไม่ขัดขวางกัมพูชาในการเข้าถึงปราสาทพระวิหารอย่างอิสระ รวมถึงการส่ง “เสบียง” 3. สั่งให้ไทย และกัมพูชา ร่วมมือกันตามกรอบของอาเซียน และต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตุการณ์จากอาเซียนสามารถเข้าไปยังเขตปลอดทหารชั่วคราวได้ 4. สั่งให้ไทยและกัมพูชาละเว้นจากกิจกรรมใดๆที่จะทำให้สถานการณ์ข้อพิพาทเลวร้าย รุนแรงมากขึ้น วีรพัฒน์ ไม่ได้มองกรณีพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหาร เป็น “ระเบิดเวลา” ของรัฐบาลชุดใหม่ แต่มองว่าเป็น “โอกาสทอง” ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในการแก้ปัญหาโดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก หลีกเลี่ยงการดำเนินการใดๆ ที่ทำให้เกิดข้อสงสัยเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
Produced by VoiceTV |