วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

สำรวจปิโตรเลี่ยมทุ่งกุลาฯ

สำรวจปิโตรเลี่ยมทุ่งกุลาฯ

ชาวชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ รู้สึกตื่นเต้นกันมากหลังจากที่มีข่าวว่าในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อาจมีบ่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแต่ว่าอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

 

ชาวชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ รู้สึกตื่นเต้นกันมากหลังจากที่มีข่าวว่าในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อาจมีบ่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแต่ว่าอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานย้ำว่ายังเป็นเพียงแค่ข้อสันนิษฐานเท่านั้นซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนยังไม่ได้ดำเนินการขุดเจาะสำรวจแต่อย่างใด

 

พื้นที่กว่า 10ไร่ ใน อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ แปลงนี้ ถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในพื้นที่สำรวจปิโตรเลี่ยม โดยมี "ซ่านซี เหยียนฉาง ปิโตรเลี่ยม กรุ๊ป" บริษัทน้ำมันสัญชาติจีน เป็นผู้รับสัมปทานจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2553



บริเวณนี้อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงระดับโลก การเข้ามาของอุตสาหกรรมปิโตรเลี่ยม จึงสร้างความกังวลใจให้กับประชาชนในพื้นที่ แต่อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติย้ำว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็น ยังไม่ได้ดำเนินการขุดเจาะ

 

ปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบกว่าร้อยละ 80 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ภายในประเทศ และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อลดการนำเข้าให้น้อยลง และตอบสนองความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น  ซึ่งหากพบปิโตรเลี่ยมในพื้นที่สำรวจ ก็ถือเป็นข่าวดีของประเทศไทย

 

บ.ซ่านซี เหยียนฉางฯ มีแผนเจาะสำรวจปิโตรเลียม 3 หลุม คือในพื้นที่ อ.คูเมือง, อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ และ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น เพื่อจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA หลังจากนั้นจะเสนอรายงานต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาอนุมัติ ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยว่า 9 เดือน จึงจะทราบว่าพื้นที่แห่งนี้มีปิโตรเลี่ยมหรือไม่  


ตลอด 40ปีที่ผ่านมา มีการขุดสำรวจปิโตรเลี่ยมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 46 หลุม แต่สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้เพียง 2 หลุมเท่านั้น คือแหล่งน้ำพอง จ.ขอนแก่น และแหล่งสินภูฮ่อม จ.ขอนแก่น และอุดรธานี ถือเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำคัญในปัจจุบัน

 

Produced by Voice TV